วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

ไม่เอา Endemic แบบ Omicron ขอกลับไปเป็น Pandemic ได้ไหม

 



ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่า  Omicron จะเป็นสายพันธุ์ที่เปลี่ยน Covid จาก pandemic (โรคระบาดแพร่กระจายทั่วโลก) เป็น endemic (โรคประจำถิ่น) แต่ช่วงระบาดสูงสุดของ Omicron ผ่านไปแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันช่วงต่ำสุดกลับยังสูงกว่า ช่วงระบาดสูงสุดของสายพันธุ์ก่อนหน้าทั้งหมด  

ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจริง คือ เปลี่ยนนโยบาย Zero Covid เป็น Living with Covid

นโยบายจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด สองสาย คือ Zero Covid ที่ไม่ยอมให้มีโรคโดยใช้มาตรการบังคับต่าง ๆ  รวมทั้ง Lock down แต่รัฐต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายรวมทั้งชดเชยความเสียหาย กับ Living with Covid ที่จะอยู่กับโรค ขอความร่วมมือเป็นหลัก ไม่บังคับ ไม่ต้องชดเชย

รายงานเมื่อกลางปี 2021 เสนอว่า ประเทศที่ใช้นโยบาย Zero Covid ทำให้ติดเชื้อน้อยกว่า เสียชีวิตน้อยกว่า  และเศรษฐกิจเติบโตดีกว่า หลัง 2 ปีผ่านไป รายงานนี้ก็พิสูจน์ตัวมันเองแล้ว

เมื่อการระบาดของโรคโควิดติดต่อกันในปีที่ 2 ประเทศที่เคยใช้มาตรการบังคับ Lock down ต่าง ๆ  พากันหมดเงินและหมดแรง เศรษฐกิจไม่เติบโต จึงยกเลิกมาตรการบังคับ เปลี่ยนไปใช้นโยบาย  Living with Covid กันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกันจึงต้องเปลี่ยน Pandemic ที่เป็นภาวะวิกฤต ให้กลายเป็น Endemic หรือโรคประจำถิ่น ไม่งั้นจะ Living with Covid ได้อย่างไร

เหลือ Zero Covid เพียง 2 ประเทศ คือนิวซีแลนด์ และ จีน

เมื่อ Omicron แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ด้วยความสามารถใหม่ เคยป่วยแล้ว ก็ป่วยได้อีก ฉีดวัคซีนแล้วก็ป่วยใหม่ได้ นิวซีแลนด์และจีนแม้ฉีดวัคซีนครอบคลุมและใช้มาตรการบังคับเต็มที่ ก็ไม่สามารถสกัดกั้น Omicronได้ การแพร่ระบาดเพิ่มสูงทำลายสถิติเดิม กำลังเป็นปัญหาทั้งสองประเทศ

นิวซีแลนด์เริ่มเปลี่ยนนโยบายจาก Zero Covid โดยยกเลิกมาตรการบังคับต่าง ๆ เตรียมกำหนดการเปิดประเทศ

เหลือจีนประเทศเดียวที่ยังใช้นโยบาย Zero Covid ด้วยการปิดเมืองยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ  ตรวจหาเชื้อประชาชนทั้งเมือง แม้เซี่ยงไฮ้ที่มีประชากร 25 ล้านคน ก็ปิดหมดทั้งเมือง ถึง 9 วัน มีค่าใช้จ่ายมหาศาล ทั่วโลกกำลังจับตาดูว่าจีนจะทนใช้นโยบาย Zero Covid ต่อไปได้นานแค่ไหน

สำหรับไทยที่ใช้นโยบาย Lock บ้าง หยุดบ้าง ไม่มีใครบอกได้ว่าจะเอายังไง หลังประกาศจะให้ Omicron เป็นโรคประจำถิ่น Omicron ก็แพร่ระบาดอย่างหนัก จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันสูงกว่า ช่วงสูงสุดของ Delta เกิน 2 เท่า บุคลากรในโรงพยาบาลติดเชื้อรายวันทำสถิติสูงสุดเกือบ 500 คนต่อวัน ผู้ป่วยในโรงพยาบาลบางวันเกิน 250,000 คน ปอดบวมและใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นทุกวัน

มีสายกลางระหว่าง Zero Covid กับ Living with Covid ให้เลือกไหม

Omicron โรคประจำถิ่นที่แพร่ระบาดรุนแรง มากกว่า โรคระบาดที่แพร่กระจายทั่วโลก แบบนี้ขอไม่เอาได้ไหม

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565

มีเซ็กซ์ยังไงดีระหว่างโควิดระบาด


 

​แม้เป็นที่ยอมรับทั่วกันว่า การมีเซ็กซ์ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างกัน สุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมทั้งระบบต่าง ๆ ของร่างกายดีขึ้น เป้าหมายคือ มีเซ็กซ์อย่างไรให้ปลอดภัยโดยไม่ติดโควิด ทำไงดี

คำถามแรก ต้องตอบก่อนว่า จะมีเซ็กซ์กับใคร😍

1 ปลอดภัยที่สุด คือตัวเอง เพราะไม่ต้องเสี่ยงกับคนอื่น ดังนั้น ช่วยตัวเอง เป็นตัวเลือกอันดับแรก ​✋

2 คู่รัก คู่สมรส ที่อยู่ด้วยกัน ฉีดวัคซีนครบรวมกระตุ้นแล้วทั้งคู่ แน่ใจว่าต่างฝ่ายต่างไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด ​👫

กรณีที่คนหนึ่งติด วันเริ่มมีอาการให้เป็นวันที่ 1 หลังกักตัว 10 วัน หากพบว่าอาการดีขึ้นแล้ว และไม่มีไข้ติดต่อกัน 3 วันโดยไม่ใช้ยาลดไข้ ก็มีเซ็กซ์ได้ ถ้ารู้สึกว่าทนรอไม่ไหว ก็หาเงินค่า ATK มาตรฐาน (ย้ำมาตรฐาน เพราะถ้าไม่มาตรฐานให้ผลบวกไม่ถึงครึ่ง) กักตัวครบ 5 วันตรวจหากได้ขีดเดียว ตรวจซ้ำหลังครั้งแรก 24 ชั่วโมง ถ้ายังขีดเดียวอยู่ ก็มีเซ็กซ์ได้เร็วขึ้น 4 วัน

3 คู่ขานอกบ้าน นัดออนไลน์ คนแปลกหน้า เอ่อ ห้ามเด็ดขาด เพราะไม่รู้ความเสี่ยง แต่ถ้าอดใจไม่ไหวจริง ๆ ให้ดูว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะป่วยวิกฤตเมื่อติดโควิดหรือไม่ เช่น อ้วน เบาหวาน ความดัน หัวใจ อายุเกิน 50 ปี ถ้ามีความเสี่ยงข้อใด ห้ามเด็ดขาด ถ้าไม่มีความเสี่ยง ให้ดูว่าฉีดวัคซีนครบและฉีดกระตุ้นครบทั้งตัวเอง และ คู่นอกบ้าน หรือไม่ ถ้ายังฉีดไม่ครบก็ห้ามเด็ดขาด เอ่อ ถ้าอดใจไม่ไหวจริง ๆ ยอมเสี่ยงติดเชื้อ ก็ขอให้พก ATK ไว้ 2 อันด้วย ถ้าตรวจแล้วขึ้นสองขีด ห้ามเด็ดขาด เอ่อ หากขีดเดียวทั้งคู่ จริง ๆ ก็ห้าม แต่ไม่เด็ดขาดเพราะเสี่ยงลดลงหน่อย หากเลือกข้อนี้โปรดอ่านคำถามที่สอง 😱😱​

คำถามที่สอง มีเซ็กซ์กันอย่างไร ถ้าตอบคำถามแรก เป็นข้อ 1 และ 2 ก็ตามรสนิยมของตนเองและทั้งคู่ แต่ถ้าตอบข้อ 3 ก็ต้องเตรียมตัว😜

การติดต่อของไวรัสโรคโควิด ผ่าน อากาศ ละอองน้ำ ละอองฝอย จากปากจมูกคนมีเชื้อ ผ่านเข้าปาก จมูก ตา คนไม่มีเชื้อทำให้ติดเชื้อ ขณะมีเซ็กซ์โอกาสติดเชื้อจึงเกิดจาก จูบแลกน้ำลาย กระซิบ หายใจเร็ว แรง ครวญคราง กรีดร้อง แต่ไม่พบไวรัสในของเหลวจากอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง (ถึงพบเป็นส่วนน้อย นำไปทดสอบก็พบว่าไม่เพิ่มจำนวน แสดงว่าไม่แพร่กระจาย) พบไวรัสในถ่ายหนัก (ยังไม่มีรายงานว่าเพิ่มจำนวนได้หรือไม่) จึงมีคำแนะนำดังนี้

ก่อนเริ่มต้นให้อาบน้ำและล้างมือให้สะอาดทั้งคู่😓

1 ย้ำอีกครั้ง ตรวจ ATK ให้ได้ขีดเดียวทั้งคู่ และจิบไวน์คนละคำ (Alcohol ฆ่าเชื้อ) แล้วใส่ถุงยางอนามัยเพราะไม่ใช่คนบ้านเดียวกัน อาจมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น รวมทั้งใส่หน้ากากได้ ควรใส่ ถ้าเป็น N95 ได้ยิ่งดี

2 เปิดหน้าต่าง และพัดลมดูดหรือเป่าอากาศออกไปนอกห้อง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดจำนวนไวรัสในห้อง (อันนี้หวาดเสียวมาก แต่ถ้าชอบจะเปิดประตูด้วยก็ตามใจ อย่าให้มีคนมาเพิ่มก็แล้วกัน เพราะห้ามจับกลุ่ม)

3 อย่าเลียกันและกัน ถ้าจูบอย่าให้เปื้อนน้ำลายตรงที่ต่าง ๆ ที่ไม่แพร่เชื้อจูบได้ แต่ห้ามจูบปาก จมูก ตา เอ่อ ก้น ด้วย

4 เลือกท่าที่ไม่หันหน้าเข้าหากัน จะได้ไม่หายใจรดกัน ทำได้แต่ประตูหน้าเท่านั้นห้ามเล่นประตูหลัง

เมื่อเสร็จแล้วให้อาบน้ำ ล้างมือให้สะอาดทั้งคู่อีกครั้ง😖

เฮ้อ แค่อ่านก็รู้สึกหมดอารมณ์แล้ว😕

ขอให้เพื่อนที่เลือกตอบคำถามแรกข้อ 1 และข้อ 2 มีความสุขกับเซ็กซ์ตามอัธยาศัย ส่วนที่เลือกข้อ 3 ขออวยพรให้ปฏิบัติได้ครบถ้วน โดยไม่เกิด ED (Erectile dysfunction: ไม่แข็ง) เสียก่อน 😝

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565

วัคซีนโควิดเข็มสี่ ควรฉีดไหม


 

ก่อนตัดสินใจฉีดหรือไม่ 

คำถามแรกคือวัคซีนปลอดภัยแค่ไหน คำตอบหลากหลายแต่ที่เชื่อถือได้คือ 

1) WHO องค์การอนามัยโลก 

1.1 ยอมรับวัคซีนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินที่มีการระบาดของโรคโควิด 10 ตัว แสดงว่าฉีดแล้วปลอดภัย คือ 

กลุ่ม mRNA 2 ตัว Pfizer, Moderna 

กลุ่ม DNA หรือ Vector วัคซีน 3 ตัว J&J, AstraZeneca, Covishield (AstraZeneca ที่อินเดียผลิต) 

กลุ่มใช้ส่วนของโปรตีน 2 ตัว Novavax และ Covavax (Novavax ที่อินเดียผลิต)

กลุ่มวัคซีนเชื้อตาย 3 ตัว คือ Covaxin (อินเดียผลิต), Sinopharm, Sinovac (ข้อมูลวันที่ 14 มีนาคม 2565 https://covid19.trackvaccines.org/agency/who/

ทั้งหมดนี้ ฉีด 2 เข็ม ปลอดภัย สำหรับ ผู้อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น 

1.2 สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12-17 ปี รับรองว่าปลอดภัยเฉพาะฉีดวัคซีน Pfizer และ Moderna เท่านั้น(ข้อมูลวันที่ 12 มกราคม 2565 https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice

1.3 WHO แนะนำ ให้ฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 หลังฉีดเข็มที่ 2 ระหว่าง 4-6 เดือน และระบุว่าแนะนำให้ฉีดกระตุ้นด้วย Pfizer เท่านั้นที่มีหลักฐานว่าได้ผล ตัวอื่นยังไม่มีหลักฐาน(ข้อมูลวันที่ 21 มกราคม 2565 https://www.paho.org/en/news/21-1-2022-who-strategic-advisory-group-experts-immunization-updates-recommendations-boosters

2) CDC US (ศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐ) (ข้อมูลวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565) 

2.1 ยอมรับวัคซีนให้ใช้ปกติ Pfizer และ Moderna (แสดงว่าปลอดภัยแน่)และยอมรับให้ใช้ฉุกเฉิน J&J สำหรับผู้ใหญ่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป เข็มกระตุ้น ให้ใช้ Pfizer กับ Moderna 

2.2 ยอมรับให้ใช้ฉุกเฉินในเด็ก 12-17 ปี ขึ้นไป Pfizer Moderna เข็มกระตุ้นใช้เฉพาะ Pfizer เท่านั้น 2.3 ยอมรับให้ใช้ฉุกเฉินในเด็ก 5-11 ปีขึ้นไป Pfizer เท่านั้น 3) EU มักรับรองแบบเดียวกับ CDC สรุปว่า เฉพาะในสหรัฐ วัคซีนป้องกันการตายจาก Covid ได้ประมาณ 1.1 ล้านคนแล้ว ป้องกันการป่วยจนต้องนอนรพ. 10.3 ล้านคน ขณะที่ ทุก 1 ล้านคนที่ฉีดวัคซีน Moderna จะป้องกันการป่วยจนต้องนอนรพ.ได้ 2982 คน ขณะที่มีหัวใจอักเสบ 33 คน ทุก 1 ล้านคนที่ฉีดวัคซีน Pfizer จะป้องกันการป่วยจนต้องนอนรพ. ได้ 2820 คน ขณะที่มีหัวใจอักเสบ 24 คน 

คำถามที่สอง เข็ม 4 ควรฉีดไหม 

ทั่วไปยังไม่แนะนำ CDC แนะนำเฉพาะ กลุ่มที่สร้างภูมิคุ้มกันไม่ได้ เช่นเป็นมะเร็งเม็ดเลือด และ WHO ยังไม่แนะนำ บอกว่าฉีดให้ครบก่อน อิสราเอลเป็นประเทศเดียวที่ฉีด 4 เข็ม แต่มีรายงานว่าเข็มที่ 3 ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นสูงมาก แต่เข็มที่ 4 ภูมิคุ้มกันเพิ่มอีกเพียงเล็กน้อย จนอาจไม่คุ้มค่าที่จะฉีด 

สำหรับประเทศที่ฉีดวัคซีนไขว้ ควรฉีดเข็ม 3 เข็ม 4 หรือไม่ ฉีดอะไรดี ขอให้ดูข้อ 1.3, 2.2 แล้ว 

คำตอบคือ เอ่อ ขอให้โชคดีครับ 

ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดเป็นจริง จนกว่าจะมีหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่ม จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากนี้ได้อีก

ควรติดโอมิครอนหรือไม่






 

โควิดกำลังจะได้รับโอนสัญชาติ มาเป็น โรคประจำถิ่นในไทย ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ติดเสียเลยละกัน ต้อนรับ เพื่อนใหม่ร่วมชาติ ดีไหม 

พ่อแม่กลุ่มหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าการให้ลูกติดเชื้อไวรัสไม่ร้ายแรงจะทำให้มีภูมิคุ้มกัน จึงจัดงานเลี้ยงอิสุกอิใส (Chickenpox) ขึ้น เมื่อเด็กคนหนึ่งป่วยเป็นอิสุกอิใสก็จัดงานเชิญเด็กคนอื่นที่ยังไม่เป็นให้มาติดเชื้อร่วมกัน จะได้ไม่เป็น อิสุกอิใสอีกต่อไป 

แต่ไม่ใช่โอมิครอน เพราะโอมิครอน สามารถติดแล้วติดอีกได้ ฉีดวัคซีนแล้วก็ติดได้ (Reinfection, Breakthrough infection) ไม่เพียงแค่นั้น สำหรับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน หากติดเชื้อโอมิครอน ก็ไม่ต่างกับการเล่นเกมรัสเซียนรูเล็ท คือเอาปืนที่เลือกใส่กระสุนไว้เพียงนัดเดียว แล้วผลัดกันยิง ไม่รู้ว่าจะโดนใคร เช่นเดียวกันไม่รู้ว่าใครจะติดเชื้อรุนแรงจนเสียชีวิต 

โอมิครอนขณะนี้กลายพันธุ์เป็น BA.2 ซึ่งมีรายงานในสัตว์ทดลองว่า ร้ายแรงไม่ต่างจาก อัลฟาและเดลตา แต่ในเบลเยี่ยมที่ BA.2 ระบาดเป็นส่วนใหญ่ ป่วยวิกฤตน้อยไม่ต่างจาก BA.1 เพราะชาวเบลเยี่ยมฉีดวัคซีน mRNA 2 เข็มเกิน 80% และฉีดกระตุ้นเกิน 50% ของประชากรแล้ว ในประชากรที่ฉีดวัคซีนแล้ว โอมิครอน BA.2 จึงไม่รุนแรงกว่า BA.1 แต่เนื่องจากแพร่ระบาดเร็วมาก จนป่วยกันมาก จำนวนตายในเบลเยี่ยม จึงเกินช่วงที่มีเดลตาระบาดไปแล้ว 

สำหรับไทยฉีดวัคซีนไขว้ ส่วนใหญ่จากจีนและแอสตราเซเนกา ซึ่งรายงานจากต่างประเทศไม่ยืนยันว่าวัคซีนเชื้อตายกันโอมิครอนได้ ฉีดกระตุ้นได้ไม่ถึง 30% ในเด็กยังไม่ได้ฉีดเท่าไร อัตราตายจึงน่าจะสูงกว่าเบลเยี่ยม 

โอมิครอนยังกลายพันธุ์อีกครั้งเป็น BA.2.2 แพร่ระบาดอยู่ในฮ่องกง ทำให้ผู้สูงอายุป่วยวิกฤตและเสียชีวิตจำนวนสูงมาก จาก 224 รายเมื่อกลางเดือน กุมภาพันธ์ กลายเป็น 2,287 รายภายในไม่กี่สัปดาห์ จนทำศพไม่ทัน 

และสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่ร้ายแรง หรือร้ายแรงจนต้องเข้าไอซียู มีผู้ติดเชื้อจำนวน 1/3-1/5 จะมีอาการป่วยไปยาวนานกว่า 3 เดือน ที่เรียกกันว่า Long Covid อาการตั้งแต่เหนื่อย สมองไม่ทำงาน (Brain fog) หายใจลำบาก จนไม่สามารถทำงานต่อไปได้ และ 14% ของผู้ติดเชื้อโควิดที่เป็นผู้ใหญ่ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ จะกลายเป็นเบาหวาน ขณะที่มากกว่า 30% ของผู้ติดเชื้อโควิดที่เป็นเด็ก จะกลายเป็นเบาหวาน 

ยังพบด้วยว่า โอมิครอนสามารถอยู่ในพื้นผิว ทั้งแก้ว เหล็ก พลาสติก กระดาษ ผิวหนัง ได้นานกว่าสายพันธุ์อื่นทั้งหมด 

โชคดีที่แม้ติดเชื้อผ่านอากาศ แต่ทางให้ไวรัสเข้าร่างกายมีเพียงเยื่อบุชื้น ๆ คือ ปาก จมูก ตา เท่านั้น 

โชคดีที่การฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิผลลด Long Covid ได้ 

ดังนั้นเราควรจะ ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อโดยเด็ดขาด ด้วยการสวมหน้ากาก ล้างมือ แยกตัว อยู่ห่าง กัน ทำงานที่บ้าน ไม่เข้าประชุมหลายคน ไม่ไปที่สาธารณะ อาบน้ำบ่อย ๆ ทำความสะอาดบ้านบ่อย ๆ ถ้าผ่านที่มีโอกาสเชื้อสูง สวมแว่นกันอากาศเข้า ตลอดจนให้คิดว่าทุกคนแพร่เชื้อได้หมด รวมทั้งตัวเองแพร่เชื้อได้ด้วย จึงต้องป้องกันให้เต็มที่ และ ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิผลให้ครบ รวมทั้งเข็มกระตุ้น 3 เข็ม (เข็มที่ 4 มี อิสราเอลเท่านั้น ที่ฉีด มีรายงานเบื้องต้นแล้วว่า ได้ผลน้อย) 

ขอให้ทุกท่านปลอดภัย

เหตุที่หาย

หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาค้นข้อมูลย้อนหลังใน backup harddisk ตัวเก่า พบ account file ที่หาไม่เจอกว่า 10 ปี ตอนนั้นงานหลักยุ่งมากจน คอมพังเปลี่ยนไปหลายตัว ทำให้ autofill password ที่ Browse คอมเก่า หายไปหมด ทั้งเด็กดี เมล์ รวมทั้ง Blog นี้ 

พยายามเข้าหลายครั้งก็ไม่ได้ ขอกู้คืนหลายครั้งก็ไม่ได้ ตอนนี้รู้แล้ว จำ khun-j กับ khun_j สลับกัน ขอกู้เท่าไรจึงไม่ได้สักที เพราะผิดคน 

กู้ Account mail ได้ Account เด็กดีได้ แล้ววันนี้ก็เข้า khun-j.blogspot.com ได้ เสียที 

อยากเขียน แต่ต้องทำงานสำคัญ

เขียนนิยายค้างไว้ กำลังสนุกกับการเขียน ยังไม่ทันเขียนต่อ งานสำคัญก็โถมกระหน่ำเข้ามา แย่งเวลาเขียนนิยาย เวลาพักผ่อน เวลาอื่น ๆ ไปจนหมด  เสียด...