วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทำไมจึงมีเนื้อหาทางการแพทย์มาก

1. เรื่องนี้มุ่งเน้นที่จะแสดงภาพคุณหมอที่เอาจริงเอาจังในการดูแลคนไข้ ขณะเดียวกันอยากให้คนไข้ได้มีโอกาสรับรู้ว่าคุณหมอเหล่านั้นทำงานหนักอย่างไร "ในช่วงชีวิตของการเป็นแพทย์ ส่วนใหญ่จบการศึกษาเมื่ออายุได้ 23-24 ปี หลังจากนั้นก็ไปทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุน และส่วนใหญ่ก็จะไปศึกษาต่อเฉพาะทาง จนจบเมื่ออายุได้ประมาณ 30-31 ปี จากการศึกษาพบว่าแพทย์มีอายุเฉลี่ยประมาณ 59 ปี (ชาย 62 ปี หญิง 55 ปี) ซึ่งน้อยกว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยมาก (ประมาณ 70 ปี) สาเหตุจากความรับผิดชอบที่หนักเกินไป โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ" (การศึกษาของนายแพทย์สยาม พิเชฐสินธุ์ พ.บ., ว.ว. (ศัลยศาสตร์ทั่วไป) คณะอนุกรรมการการจัดสัมนาของแพทยสภา) ข้อมูลจาก http://www.nrct.go.th/2008/print.php?sid=1357 ระบุว่า "ผลวิจัย องค์การอนามัยโลก พบหมอเป็นวิชาชีพที่บุคลากรฆ่าตัวตายสูงสุด เผยอัตราตายเฉลี่ย 40 ต่อหนึ่งแสนคน ชี้เหตุฆ่าตัวตาย เพราะล้มป่วยทางจิต แถมทำงานหนักเพื่อรักษาภาพ "ฮีโร่" จนไม่มีเวลาดูแลตัวเองและครอบครัว ระบุ "หมอสูติ? แชมป์คิดสั้น ขณะที่ผลวิจัยอายุเฉลี่ย พบหมอไทยตายก่อนวัยอันควร เหตุเชื่อมั่นตัวเองสูงจนไม่สนใจดูแลสุขภาพ" 2. To show, not to tell ผู้เขียนควรแสดงภาพให้คนอ่านเห็นและสรุปด้วยตนเอง มิใช่สรุปแล้วบอกคนอ่าน จึงแสดงภาพของหมอเวชใช้ความรู้ทางการแพทย์อย่างมากในตอนที่สอง รวมทั้งไม่เกี่ยงงานพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องที่ตนเองรับผิดชอบในตอนที่สาม น่าจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและสรุปได้ด้วยตนเอง  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อยากเขียน แต่ต้องทำงานสำคัญ

เขียนนิยายค้างไว้ กำลังสนุกกับการเขียน ยังไม่ทันเขียนต่อ งานสำคัญก็โถมกระหน่ำเข้ามา แย่งเวลาเขียนนิยาย เวลาพักผ่อน เวลาอื่น ๆ ไปจนหมด  เสียด...